การกำหนดมาตรฐานคุณภาพของครูในการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพครูจะต้องทำกิจกรรม 7 อย่างคือ
1) การวิเคราะห์หลักสูตร2) การวิเคราะห์ผู้เรียน3) การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย4) การใช้เทคโนโลยีเป็นแหล่งและสื่อการเรียนรู้ของตนเองและนักเรียน5) การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงอย่างรอบด้านและเน้นพัฒนาการ6) การใช้ผลการประเมินเพื่อแก้ไขปรับปีรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ7) การใช้การวิจัยปฏิบัติการในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนและการสอนของตน
จากประเด็นดังกล่าว นักศึกษาจะนำวิธีดังกล่าวมาจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร เมื่อนักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (ข้อสอบ 20 คะแนน) ยกตัวอย่างออกแบบการจัดการเรียนรู้
จากประเด็นดังกล่าว นักศึกษาจะนำวิธีดังกล่าวมาจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร เมื่อนักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (ข้อสอบ 20 คะแนน) ยกตัวอย่างออกแบบการจัดการเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นกระบวนการจัดการศึกษาที่ต้องเน้นให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้ และพัฒนาความรู้ได้ด้วยตนเอง รวมทั้งมีการฝึกและปฏิบัติในสภาพจริงของการทำงาน มีการเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนกับสังคมและการประยุกต์ใช้ มีการจัดกิจกรรมและกระบวนการให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินและสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ
ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ
1) การเรียนรู้จากปัญหา
เป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนควบคุมการเรียนรู้ด้วยตนเองผู้เรียนคิดและดำเนินการเรียนรู้ กำหนดวัตถุประสงค์ และเลือกแหล่งเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยผู้สอนเป็นผู้ให้คำแนะนำ เป็นการส่งเสริมให้เกิดการแก้ปัญหามากกว่าการจำเนื้อหาข้อเท็จจริง เป็นการส่งเสริมการทำงานเป็นกลุ่มและพัฒนาทักษะทางสังคม
2) การเรียนรู้เป็นรายบุคคล เนื่องจากผู้เรียนแต่ละบุคคลมีความสามารถในการเรียนรู้ และความสนใจในการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน จึงจำเป็นที่จะต้องมีเทคนิคหลายวิธี เพื่อช่วยให้การจัดการเรียนสามารถตอบสนองผู้เรียนแต่ละคนที่แตกต่างกันได้ด้วย
3) การเรียนรู้แบบแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง
การเรียนรู้แบบนี้เป็นการให้ผู้เรียนศึกษาและแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง เช่น การจัดการเรียนการสอนแบบสืบค้น
4) การเรียนรู้จากการทำงาน
การเรียนรู้แบบนี้เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมผู้เรียนให้เกิดพัฒนาการทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้เนื้อหาสาระ การฝึกปฏิบัติจริง ฝึกฝนทักษะทางสังคม ทักษะชีวิต ทักษะวิชาชีพ
แผนการจัดการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5)
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ เรื่องกำเนิดผิดพ้นคนทั้งหลาย จำนวน ๘ ชั่วโมง
แผนการเรียนรู้ที่ ๓ เรื่อง เชี่ยวชาญความรู้ เวลา ๑ ชั่วโมง
วันที่…..เดือน……พ.ศ…
มาตรฐาน ท ๑.๑ ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาและสร้างวิสัยทัศน์ใน การดำเนินชีวิต และมีนิสัยรักการอ่าน
สาระสำคัญ
การอ่านในใจเป็นการอ่านที่เข้าใจเรื่องราวได้เพียงคนเดียว ผู้อ่านต้องใช้สมาธิ สติในการอ่าน ศึกษา
คำยาก ตั้งจุดหมายในการอ่าน อ่านอย่างพินิจ พิจารณาจะทำให้จับใจความสำคัญของเรื่องที่อ่าน
สามารถตอบคำถาม ลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง และนำไปเขียนเป็นแผนภาพโครงเรื่อง เพื่อการเล่าเรื่อง
และเขียนเรื่องได้
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
๑. อ่านในใจบทเรียนตามหลักการอ่านในใจที่ดีได้ถูกต้อง
๒. ตั้งคำถาม ตอบคำถาม จากเรื่องที่อ่านได้
สาระการเรียนรู้
๑. อ่านในใจบทเรียน เรื่อง ปฏิบัติการสายลับจิ๋ว
๒. การตั้งคำถาม ตอบคำถามของเรื่อง
กระบวนการเรียนรู้
๑. นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละประมาณ ๔ - ๖ คน เพื่อเล่น “ปริศนาคำทาย” โดยครูเป็นผู้อ่านปริศนาคำทาย
๒. ร่วมกันสนทนาถึงหลักและวิธีการอ่านในใจ โดยครูแจกใบความรู้ เรื่อง การอ่านในใจ โดยให้ศึกษาหาความรู้เป็นกลุ่ม กลุ่มละ ๔-๕ คน
๓. นักเรียนฟังครูแจ้งจุดประสงค์ในการอ่านในใจ หรือผลการเรียนรู้ที่คาดหวังครั้งนี้ เช่น
๓.๑ ตั้งคำถาม และตอบคำถาม จากเรื่องที่อ่านได้
๓.๒ สรุปข้อคิด และใจความสำคัญของเรื่องที่อ่านได้
๔. แต่และกลุ่มรับใบกิจกรรมที่ ๓ เรื่อง ตั้งคำถามรวมพลังสามัคคี และทำกิจกรรมตามใบกิจกรรม
๕. แต่ละกลุ่มทำแบบฝึกหัดที่ ๓ เรื่อง การอ่านในใจและคิดวิเคราะห์ เสร็จแล้วส่งครูตรวจ
๖. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ และข้อคิดที่ได้จากเรื่อง ปฏิบัติการสายลับจิ๋ว โดยครูเน้นให้นักเรียนนำข้อคิดที่ได้จากเรื่องไปใช้ในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะเรื่องความสามัคคี
๗. นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน หน่วยที่ ๑ ปฏิบัติการสายลับจิ๋ว
สื่อ/อุปกรณ์
๑. ปริศนาคำทาย
๒. ใบกิจกรรมที่ ๓ เรื่อง ตั้งคำถามรวมพลังสามัคคี
๓. แบบฝึกหัดที่ ๓ เรื่อง การอ่านในใจและคิดวิเคราะห์
๔. แบบทดสอบหลังเรียน หน่วยที่ ๑ ปฏิบัติการสายลับจิ๋ว
แหล่งเรียนรู้
๑.ห้องสมุด
๒.ห้องเรียน
กระบวนการวัดผลประเมินผล
๑. วิธีการวัดผลและประเมินผล
๑.๑ การสังเกต
การอ่านในใจ
๑.๒ ตรวจผลงาน
๑.๒.๑ แบบทดสอบหลังเรียน
๑.๒.๒ แบบฝึกหัดที่ ๓
๒. เครื่องมือประเมินผล
๑. แบบสังเกตการอ่านในใจ
๒. แบบประเมินการตรวจผลงานการตั้งคำถาม (ใบกิจกรรม)
๓. เกณฑ์การประเมิน
๑. สังเกตอ่านในใจ ผ่านเกณฑ์อย่างน้อยร้อยละ ๘๐
๒. การตรวจผลงาน ผ่านเกณฑ์อย่างน้อยร้อยละ ๘๐
การบูรณาการ
เสริมทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน บูรณาการเข้าในวิชาภาษาไทย